วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน เพื่อสร้างเสริมเมืองน่าอยู่

            สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการจักรยานสร้างเสริมสุขภาพและลดโลกร้อน โดยในครั้งนี้ร่วมกับชมรมจักรยานจังหวัดลำปาง จัดการประชุมปฏิบัติการ"การจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยานเพื่อสร้างเสริมเมืองน่าอยู่ วันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องราชาวดี ชั้น4 อาคารกองช่างกองคลัง เทศบาลนครลำปาง ภายในงานมีการจัดประชุมปฎิบัติการและสัมมนาพร้อมแสดงนิทรรศการ แนวโน้มการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันทั้งในและต่างประเทศ ความปลอดภัยและประโยชน์จากการใช้จักรยานรวมถึงความจำเป็นในการใช้จักรยานในการเดินทางและการปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนให้แก่ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา กลุ่มนักปั่น และเยาวชน เพื่อให้เกิดความตระหนักและเกิดแรงจูงใจในการส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างถูกต้องและปลอดภัยพร้อมๆกับการพัฒนาแนวทางในส่งเสริมการใช้จักรยานในการเดินทางและเสริมสร้างความมั่นใจในการเดินทางด้วยจักรยานบนเส้นทางร่วมกับยานพาหนะอื่น
 

                                                          ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม

บรรยากาศของการประชุม

                      ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเห็นร่วมกันที่จะส่งเสริมให้ลำปางเป็นเมืองของจักรยาน

                                                    ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น

                                                      ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น

                       อาจารย์จิรพล สินธุนาวาเข้าร่วมการขี่จักรยานในกิจกรรม Friday night
                                               ร่วมกับกลุ่มจักรยานฟิกซ์เกียร์จังหวัดลำปาง

ผู้เข้าทดสอบการขับขี่จักรยานทำการลงทะเบียน และแบบทดสอบ

ผู้เข้าร่วมทดสอบฟังท่านวิทยากรแนะนำในการหมวกกันน็อคที่ถูกวิธี

การใช้สัญญาณมือบนท้องถนน

สถานีทดสอบการขับขี่จักรยาน
                                                       สถานีทดสอบการขับขี่จักรยาน
                                                   มอบใบขับขี่ให้กับผู้ที่ผ่านการทดสอบ
มอบใบขับขี่ให้กับผู้ที่ผ่านการทดสอบ

มอบใบขับขี่ให้กับผู้ที่ผ่านการทดสอบ

ผู้เข้ารับการทดสอบการขับขี่จักรยานและเจ้าหน้าที่ถ่ายรูปร่วมกัน
 

สามารถติดตามข่าวสารทางFacebookได้ตามลิงก์ด้านล่างเลยนะคะ

https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/730006917014218?ref=ts&fref=ts#!/pages/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/730006917014218

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Boris Johnson accused of victim-blaming over London cyclist deaths


by Simon_MacMichael November 14, 2013


 
Barclays Cycle Superhighway (source - Transport for London)

Mayor of London Boris Johnson has said cyclists need to take responsibility for their own safety following a nine-day period in which collisions with large vehicles claimed the lives of five cyclists in the capital. While he clearly states he wasn’t trying to blame the victims in those specific incidents, an opposition politician has accused him of doing just that, describing his remarks as “an insult to the dead.”

Speaking to radio station LBC’s Nick Ferrari this morning, Mr Johnson maintained that cyclists were obliged to follow the rules of the road and to comply with traffic signs.

He said: “Some of the cases that we've seen in the last few days really make your heart bleed because you can see that people have taken decisions that really did put their lives in danger.

"You cannot blame the victim in these circumstances. But what you can say is that when people make decisions on the road that are very risky – jumping red lights, moving across fast-moving traffic in a way that is completely unexpected and without looking to see what traffic is doing – it's very difficult for the traffic engineers to second-guess that."

No suggestion has been made by police investigating the five fatalities this month, three of which occurred on or near Barclays Cycle Superhighway CS2 in east London, that the people who died were riding their bikes in such a way as to endanger their own lives.

On Twitter this morning, Labour’s former transport secretary Lord Adonis had urged Mr Johnson to take action, saying: "The mayor should appoint a rapid independent review of superhighways after the horror of all these cyclist deaths in London."

However, rejecting calls for an urgent review of the safety of cyclists in the city, Mr Johnson said that unless riders complied with traffic laws, "there's no amount of traffic engineering that we invest in that is going to save people's lives."

Quoted in the Guardian, Green London Assembly member Darren Johnson accused the Mayor of victim blaming and of "dodging responsibility."

He pointed out: “Four out of the five deaths of cyclists in the last nine days have involved either his blue paint or his red buses.

"The mayor's comments this morning which targeted cyclists breaking the law as the primary cause of death and serious injury is an attempt to blame the victims, rather than tackling the real problem of HGVs, buses and dangerous junctions.

"It is an insult to the dead and injured that the mayor continues to blame victims in this way, rather than accepting his responsibility and getting on with fixing the things he has direct control over."

The succession of fatalities has seen other high profile politicians call for segregated cycle lanes, such as that on the new section of CS2, opened last week. The original route from Aldgate to Bow has no such segregation.

Deputy Prime Minister Nick Clegg told LBC: "Distressing as all this is, I really hope it doesn't discourage people from bicycling – it's got to be made safer and we have got to have more of these bicycling superhighways which physically separate cyclists from roads.

The Liberal Democrat leader added: "We as a government have said we want to make new road schemes fit for cyclists and at the same time we'll look at every other suggestion to make this a safe thing to do."

The Mayor’s own Cycling Commissioner, Andrew Gilligan, whom he appointed to that position earlier this year, cautioned against taking hasty action but criticised CS2.

He told BBC London: "The danger in the current atmosphere of understandable alarm and concern is that we rush into some panic measure which actually makes things worse.”

However, Mr Gilligan added: "From the beginning, Superhighway 2 has been little more than blue paint and I've been pressing to change it."

National cyclists’ organisation CTC meanwhile called for new drivers of large vehicles such as lorries, buses and coaches – all three types of vehicle have been involved in fatalities of cyclists in London this month – to have to undertake cycle training before they are granted a licence.

The appeal comes as the government prepares to publish a green paper regarding the training and testing of such vehicles.

CTC’s policy director, Roger Geffen, said: “We will investigate further options for reducing the number of large vehicles in urban centres at busy periods.

“Options that the organisation has considered in the past include banning lorries from city centres at peak periods and locating distribution centres on the outskirts of cities.”

Its chief executive, Gordon Seabright, added: "CTC and all cyclists are sickened by the continuing failure to protect cyclists, in particular from the dangers caused by lorries in our towns and cities. We want to see The Mayor of London and all those responsible for the safety of our streets living up to their promises.”

Martin Key, campaigns director at British Cycling, called for a national cycle awareness initiative to be launched.

"The fact that five cyclists have been killed in London in the last nine days is shocking news and an urgent investigation needs to take place into what could have been done to prevent these deaths," he commented.

"We have to do a better job of looking after each other on the roads.

"That includes significant investment in a nationwide cyclist awareness campaign rather than a few posters in a handful of cities.

“This is about changing the culture of how people get around, making cycling a more attractive and safer option for millions of people across Britain."
In its editorial today, the London Evening Standard says that “We can be a cycling city to rival any other in Europe: we just have to want to make it happen.”

The newspaper says:

The cyclist killed last night on one of London’s cycle superhighways, at Aldgate, is the fifth to die in nine days. The total killed this year in the capital is now 13. It is a reminder of the inadequacies and dangers of the blue cycling superhighways. As Debbie Dorling, the widow of the first cyclist to be killed on one, observes, these are little more than “comfort blankets”, giving cyclists a false sense of security on dangerous roads while mostly failing to segregate them from traffic.

The fatalities are tragic — though they should be put in context. Most London cyclists get to work each day without incident. Annual deaths have stayed roughly the same over the past decade, despite a huge increase in the numbers cycling: cycling is proportionately safer than it was. And motorists generally seem to be more conscious of the vulnerability of cyclists than they were even five years ago. This is, moreover, a dangerous time of year, with cycle commuters riding in the dark or dusk.

But a cycling city, which London aspires to be, cannot be safe only in summer and in optimal conditions: it must be safe in the dark and rain too. The Mayor has already launched his scheme for a safe cycling network, and says he will install CCTV at Bow to study the problems. Now he must go much further. We should consider an independent review into cycle safety in London. And we need a plan to transform the city’s cycle lanes and junctions, making much greater use of segregated lanes. TfL must now treat this as a transport priority.

This is a question of political will, not physical road space: other changes to our roads once branded unthinkable, such as bus lanes and the congestion charge, are now accepted parts of the system. London is a working city with a multiplicity of road users — cyclists, pedestrians, car and lorry drivers. Yet it should be possible for all of us to share the roads, given decent provision and mutual consideration. We can be a cycling city to rival any other in Europe: we just have to want to make it happen.

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“โบโกต้า” จากเมืองยาเสพติด อาชญากรรมสู่เมืองจักรยาน


           ปัญหาการจราจรนับได้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับมหานครใหญ่ทั่วโลกที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นมหานครนิวยอร์ก เม็กซิโกซิตี้ กรุงปักกิ่ง กรุงเทพมหานคร นครเซาเปาโล เมืองใหญ่ที่สุดของบราซิลซึ่งปีที่แล้วเกิดวิกฤตจราจรรถติดยาวเหยียดกว่า ๑๘๐ กิโลเมตร แม้แต่เมืองโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย อดีตเคยมีปัญหาด้านจราจรเช่นเดียวกัน แต่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ

โบโกต้าเป็นเมืองหลวงของประเทศโคลัมเบียอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีประชากร ๘.๕ ล้านคน เมื่อปี ค.ศ.๑๙๙๕ หรือ ๑๘ ปีก่อน โลกรู้จักโบโกต้าว่าเป็นเมืองอันตราย เพราะเต็มไปด้วยปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยและคนจน การจราจรติดขัดมาก และอากาศเสีย รวมทั้งขาดพื้นที่สีเขียว


 
กว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมาโบโกต้าเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เมื่อชาวเมืองได้นายเอนริเก้ เพนาโลซ่า เป็นนายกเทศมนตรี(ปีค.ศ.๑๙๙๘-๒๐๐๑) เขามองว่าเมืองต้องเป็นที่อยู่อาศัยที่ให้คุณภาพชีวิตที่ดีแก่พลเมืองทุกคน ทุกคนจึงต้องมีโอกาสเข้าถึงพื้นที่สาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน และพื้นที่สาธารณะที่สำคัญที่สุดคือถนนและทางเท้า แต่คนขับรถยนต์ส่วนตัวซึ่งมีอยู่เพียงร้อยละ ๒๕ กลับยึดพื้นที่เหล่านี้ไปหมด

เมื่อก่อนรถยนต์จะขี้นมาจอดกันเต็มทางเท้า สิ่งแรกที่นายเพนาโลซ่าทำคือ การบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง ไม่ยอมให้รถยนต์ขี้นมาจอดบนทางเท้า มีการติดตั้งเสาเตี้ยๆกันไม่ให้รถเข้า และเพิ่มพื้นที่ให้คนเดิน โดยเปลี่ยนที่จอดรถให้เป็นทางเท้าและที่สาธารณะถึง ๑,๒๐๐ แห่ง รวมทั้งปลูกต้นไม้ในเมืองเพิ่มขึ้นถึง ๑๐๐,๐๐๐ ต้น

นอกจากนี้เขายังขึ้นราคาน้ำมัน และค่าจอดรถในเมืองเพื่อแบ่งมาเป็นกองทุนพัฒนาระบบโครงข่ายรถเมล์ด่วนBRTให้ขนส่งมวลชนมีเลนวิ่งได้สะดวก สร้างระบบเส้นทางจักรยานอย่างดี มีต้นไม้ริมทาง เป็นโครงข่ายยาว ๓๐๐ กิโลเมตรเพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน

ด้วยเงินลงทุนเพียง ๑,๕๐๐ ล้านบาทในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมือง ทำให้มีคนขี่จักรยานเพิ่มขี้นกว่า ๒๐ เท่า นับได้ว่าคุ้มทุนภายในเพียงปีเศษ เพราะทำให้สามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงปีละ ๑,๒๓๐ ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีการสร้างทางจักรยานอย่างดีขนานกับทางเท้าในเขตชุมชนยากจนที่ไม่เคยมีแม้แต่ถนนลาดยางเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนให้ดีขี้น สามารถใช้เดินทางไปโรงเรียนได้สะดวก และทางจักรยานได้สร้างอาชีพใหม่ๆขี้นมาให้แก่คนรายได้น้อย เช่น อาชีพซ่อมจักรยาน และขายอะไหล่จักรยาน

ย่านธุรกิจหลายแห่งเปลี่ยนมาเป็นถนนคนเดิน และจักรยานเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ เพราะทำให้คนสามารถสัญจรไปมาได้สะดวกสบายและใช้ชีวิตตามถนนสาธารณะกันมากขึ้น ทุกวันอาทิตย์ในช่วงเช้าถนนใหญ่หลายสายในเมืองปิดไม่ให้รถยนต์เข้า เปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนเข้ามาพบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมสันทนาการกับครอบครัว

ทุกวันนี้เมืองโบโกต้ารถติดน้อยลงถึงร้อยละ ๔๐ อากาศดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และอัตราฆาตกรรมลดลงถึง ๔ เท่า ปัจจุบันผู้ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯทุกคนต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อจักรยาน คนเดิน และพื้นที่สาธารณะ มิเช่นนั้นจะไม่มีใครลงคะแนนเสียงให้

ชาวโบโกต้าได้สรุปบทเรียนว่า การสร้างเมืองให้น่าอยู่นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณ แต่ขึ้นอยู่กับเจตจำนงค์ทางการเมืองและการลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหา เดี๋ยวนี้เมืองอื่นๆ เกิดความตื่นตัวและเอาเมืองโบโกต้าเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเมือง

ทุกวันนี้โบโกต้าได้ลบภาพเก่าจากอดีตที่เคยเป็นเมืองอันตรายที่เต็มไปด้วยปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม การจราจรติดขัด มลภาวะ อากาศเสีย

หลายเมืองในยุโรปก็ให้ความสำคัญกับพื้นที่จักรยานมากขึ้นอย่างกรุงอัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นเมืองที่มีความเป็นมิตรกับการขี่จักรยานมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะเกือบร้อย ๔๐ ของการเดินทางในเมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์เป็นการเดินทางโดยใช้จักรยาน และยังมีจักรยานสาธารณะให้เช่ากันอย่างแพร่หลาย

กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงประเทศเดนมาร์กปัจจุบันชาวโคนมจำนวนร้อยละ ๓๒ เดินทางไปทำงานโดยการขี่จักรยาน ที่นี่มีวัฒนธรรมการส่งเสริมการใช้จักรยานถึงขั้นที่ให้คนเช่าจักรยานฟรี โดยจะให้จ่ายมัดจำไว้ก่อนและเมื่อนำจักรยานมาคืนก็จะคืนเงินให้ โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับทางจักรยานของประเทศก็เอื้ออำนวยให้การเดินทางโดยจักรยานมีความสะดวกและรวดเร็ว

สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นรายงานจากกรมการขนส่งระบุว่า ปัจจุบันในกรุงเทพมีรถทุกประเภทที่จดทะเบียนสมสม ณ วันที่ ๓๑ มกราคม๒๕๕๖ มากถึง ๗.๖ ล้านคันจากนโนบายรถคันแรก แต่มีพื้นที่ถนนสำหรับรถเพียง ๑.๕ ล้านคันเท่านั้น จนกรุงเทพมหานครได้ชื่อจากสื่อตะวันตกว่าเป็นเมืองที่รั้งอันดับต้นๆที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกภาคส่วนจะหันมาร่วมมือกันแก้ไขจัดการปัญหาวิกฤตจราจรในกรุงเทพมหานครกันอย่างจริงจังโดยเพิ่มพื้นที่สาธารณะสำหรับจักรยาน พื้นที่สีเขียว ควบคุมปริมาณรถ จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยที่รุกล้ำทางเท้าและพื้นที่สาธารณะ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นจนเป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย สะอาด ปลอดภัย และน่าท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโลกในอนาคต

สมชาย หาญญานันท์ กฟผ. ( ๑๘ ก.พ. ๕๖)
------------------------------

หมายเหตุ: ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานระบุว่า ปี ๒๕๕๕ ประเทศไทยนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศปีละกว่า ๑.๒ ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง